หากคุณทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก หรือทำธุรกิจร้านอาหาร ตลอดจนการประกอบการที่จะต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศแล้วล่ะก็ สิ่งหนึ่งที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยนั่นก็คือ การขนส่งนั่นเองค่ะ ซึ่งในการจัดส่งสินค้าทางทะเลนั้น เรามักจะขนสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อทำการจัดส่ง ซึ่งการขนส่งทางทะเลนั้น เป็นช่องทางการขนส่งสินค้าที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยนะคะ สามารถขนส่งผ่านน่านน้ำ และเชื่อมต่อกับแผ่นดินได้ทั่วโลกกันเลยค่ะ สามารถขนส่งสินค้าได้คราวละมากๆ อีกทั้งยังเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีราคาต่ำที่สุดอีกด้วยค่ะ จึงทำให้ได้รับความนิยมเสมอมา ซึ่งรูปแบบการขนส่งทางทะเลในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์นั่นเองค่ะ
ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักกับตู้คอนเทนเนอร์กันค่ะว่า ตู้ขนส่งสินค้าที่เราพูดถึงนี้คืออะไร และมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ตามมาดูพร้อมกันเลยค่ะ
ตู้คอนเทนเนอร์ คืออะไร
ตู้คอนเทนเนอร์ (Con tainer Box) คือ ตู้ภาชนะที่ผลิตมาเพื่อใช้สำหรับบรรจุสินค้าเพื่อใช้ในการขนส่งทางเรือ มีหลายสีสัน หลายขนาด และหลายประเภท เพื่อให้เกิดการขนส่งที่สะดวก ปลอดภัย และเหมาะสมกับสินค้าประเภทนั้นๆ เนื่องจากการขนส่งทางเรืออาจกินระยะเวลาที่ยาวนาน โดยทั่วไปมักใช้การขนส่งอย่างน้อย 15 วันขึ้นไป จึงต้องมี คอนเทนเนอร์ ที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้าแต่ละประเภท ทั้งขนาดและคุณสมบัติของตู้ด้วย ซึ่งการเลือกใช้อย่างคุ้มค่าในการขนส่งจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของสินค้า และปริมาณสินค้าที่จัดส่ง
การขนส่งผ่านทางตู้คอนเทนเนอร์
– จะมีการนำสินค้ามาบรรจุตู้ (Stuff ing)
– และมีการขนย้ายตู้ขึ้นไว้บนเรือ Con tainer Ship
ซึ่งเรือนี้ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์โดยเฉพาะ เพื่อรับส่งสินค้ากับท่าเรือที่ออกแบบมาแบบ Ter mi nal Design ที่เหมาะสมทั้งในเชิงวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมนั่นเองค่ะ
การขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ สามารถใช้บริการได้หลากหลายแบบ เช่น
1. หากผู้ขายเป็นผู้บรรจุ จะเรียกว่า Term CY คือ Con signee Load and Count จะเป็นสินค้าประเภทเต็มตู้ที่เรียกว่า FCL (Full Con tainer Load)
2. หากบริษัทเรือเป็นผู้บรรจุตู้สินค้าในท่าเรือหรือใน ICD (Inland Con tainer Depot) ซึ่งตัวแทนบริษัทเรือเป็นเจ้าของสถานที่ ก็จะเรียกลักษณะการขนส่งแบบนี้ว่า CFS (Con tainer Freight Sta tion) จะเป็นสินค้าแบบ FCL หรือแบบการบรรจุแบบรวมตู้ / น้อยกว่า 1 ตู้ ซึ่งเรียกว่า LCL (Less Con tainer Load) ก็ได้
คุณลักษณะของตู้คอนเทนเนอร์
โดยตู้คอนเทนเนอร์สำหรับขนส่งสินค้ามีคุณลักษณะดังนี้
1. เป็นตู้ขนาดมาตรฐาน
2. มีโครงสร้างภายนอกที่แข็งแรง อาจทำด้วยเหล็ก หรืออลูมิเนียม
3. ภายในเป็นตู้โล่งกว้างสำหรับบรรจุสินค้า
4. สามารถวางเรียงซ้อนกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้น
5. ในการวางซ้อนกันจะมีการยึดตู้แต่ละตู้ติดกัน
6. ส่วนใหญ่จะมีประตู 2 บาน
7. ลักษณะภายนอกตู้จะเป็นลอนคลื่นเรียงกันในแนวตั้ง
8. มีที่ล็อกประตูตู้เพื่อให้ปิดได้อย่างมิดชิดปลอดภัย
สำหรับการปิดซีลประตูตู้ ในปัจจุบันนี้ จะมีการใช้ Elec tronic Seal ซึ่งสามารถเข้าไปตรวจสอบหาตำแหน่งของการเคลื่อนย้ายตู้สินค้าได้ นอกจากนี้ ตู้คอนเทนเนอร์ยังมีการบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้านั้นๆ เช่น ระบุหมายเลขตู้ (Con tainer Num ber) หรือน้ำหนักของสินค้าบรรจุสูงสุด เป็นต้น คุณลักษณะเหล่านี้ เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของคอนเทนเนอร์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีการใช้งานในการขนส่งอยู่นั้น ไม่ได้มีขนาดเดียว แต่มีหลายขนาด เพื่อให้ตอบโจทย์การบรรจุสินค้าได้ครบถ้วนมากขึ้น
ตู้คอนเทนเนอร์ 3 ขนาด
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ใช้จัดส่งสินค้าทั่วไปที่ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์, เครื่องสำอาง, วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า, อาหารแห้ง, ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้หรือเหล็ก รวมไปถึง สินค้าอันตรายต่างๆ เป็นต้น มี 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์
1. Dry Container
เป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบมาตรฐานที่เหมาะสำหรับสินค้าทั่วไป ที่ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิในการขนส่งสินค้าและยังเป็นตู้คอนเทนเนอร์ประเภทที่ถูกใช้งานมากที่สุด มีหลายขนาด ทนทานสูงจึงเหมาะกับการขนส่งสินค้าที่มีลักษณะแห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า เป็นต้น
2. Reefer Container
เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็นและมีที่วัดอุณหภูมิเพื่อแสดงอุณหภูมิของตู้สินค้า อีกทั้งยังสามารถรักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนเทนเนอร์ให้คงที่ได้ตลอดการขนส่งสินค้า จึงเหมาะสำหรับสินค้าประเภท เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลไม้ ไอศกรีม เป็นต้น
3. Open Top Container
เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ออกแบบมาให้ด้านบนเปิดโล่ง ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับใช้ในการวางสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษ ไม่สามารถขนย้ายผ่านประตูตู้ได้ เช่น เครื่องจักร ท่อชนิดต่างๆ วัสดุก่อสร้าง หรือ ยานพาหนะที่มีลักษณะสูงเป็นพิเศษ
4. Flat Rack Container
เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีพื้นราบ เปิดโล่งทั้งด้านบนและด้านข้าง มีฐานพื้นสำหรับใส่สินค้าที่มีขนาดใหญ่ กว้างหรือสูงเป็นพิเศษ เช่น เครื่องจักร ท่อชนิดต่างๆ วัสดุก่อสร้าง หรือยานพาหนะที่มีลักษณะกว้างยาวสูงเป็นพิเศษ
5. ISO Tank Container
เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บรรจุของเหลวโดยเฉพาะ มีโครงสร้างสำคัญคือ พื้นตู้กับเสายึดทั้ง 4 มุม บนพื้นจะติดตั้งแท่งเหล็กกลมยาวไว้อย่างถาวร ซึ่งทำให้สามารถวางซ้อนได้และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย เหมาะสำหรับสินค้าประเภทของเหลว เช่น เครื่องดื่ม อาหาร น้ำมัน เคมีภัณฑ์
6. Ventilated Container
เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีลักษณะเหมือนกับตู้ธรรมดา แต่มีช่องระบายอากาศอยู่บริเวณตู้เหมาะสำหรับสินค้า ที่ต้องการการระบายอากาศ โดยส่วนใหญ่มักใช้กับสินค้าทางการเกษตร เช่น เมล็ดโกโก้ เมล็ดกาแฟ ผลไม้บางชนิด
เมื่อคุณรู้จักตู้คอนเทนเนอร์แต่ละประเภทแล้ว การเลือกร้านค้าเพื่อซื้อตู้คอนเทนเนอร์ก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะตู้คอนเทนเนอร์ที่วางขายในตลาดส่วนใหญ่เป็นตู้คอนเทนเนอร์มือสองที่มีราคาถูกกว่าตู้คอนเทนเนอร์ใหม่นั่นเองค่ะ